วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561

รวมหนังสือวรรณกรรมซีไรต์ ( ขุนทอง…เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง ปี 2524 )


ขุนทอง…เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง




ขุนทอง…เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง
หนังสือซีไรต์ (รวมเรื่องสั้น) ปี 2524
ผู้แต่ง อัศศิริ ธรรมโชติ
พิมพ์ครั้งแรก สำนักพิมพ์ พี.พี.
พิมพ์ครั้งล่าสุด แพรวสำนักพิมพ์

             อัศศิริได้นำเค้าโครงบทกวีชื่อ “เพลงขลุ่ยเหนือทุ่งข้าว” ในหนังสือชุด “เพียงความเคลื่อนไหว” ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ มาจินตนาการกับเหตุการณ์ต่อสู้ทางการเมืองยุค 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ซึ่งคำว่า “ขุนทอง” หมายถึง เหล่าปัญญาชนคนหนุ่มสาว ซึ่งบ้างก็สูญหาย บ้างเสียชีวิต บ้างก็กลับมาพร้อมกับอุดมการณ์เต็มย่าม ขณะที่อีกไม่น้อยกลับมาเป็น “คนใหม่ ”

         แต่ในห้วงที่อัศศิริเขียนนั้น สถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ยังไม่รู้ว่าปัญญาชนคนหนุ่มสาวส่วนหนึ่งหายไปไหน สิ่งที่ฟ้องร้องออกมาย่อมพุ่งเป้าไปหาผู้กุมอำนาจทางการเมืองไว้นั่นเองเรื่องสั้นของอัศศิริมีเนื้อความกระชับ ลักษณะเด่นคือการใช้ภาษาที่รัดกุมไพเราะ บางช่วงบางตอนราวกับบทกวี เป็นเหตุการณ์ทางการเมือง ประวัติศาสตร์และสังคม งานของอัศศิริไม่ใช่งานฝันหวาน แต่เป็นงานก่อให้เกิดความคิด ความรู้สึกใหม่ๆ ความจริง ความปลอม ความเงียบ ความสงสัย ซึ่งล้วนเป็นพลังในอาณาจักรวรรณกรรมของเรา ถือเป็นงานเขียนที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปหนังสือ ขุนทอง เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง









รวมหนังสือวรรณกรรมซีไรต์ ( เพียงความเคลื่อนไหว ปี 2523 )


เพียงความเคลื่อนไหว



เพียงความเคลื่อนไหว
หนังสือซีไรต์ (กวีนิพนธ์) ปี 2523
ผู้แต่ง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
พิมพ์ครั้งแรก สำนักพิมพ์เจ้าพระยา
พิมพ์ครั้งล่าสุด สำนักพิมพ์ผจญภัย

          เพียงความเคลื่อนไหว เป็นกวีนิพนธ์มุ่งนำเสนอความคิดทางการเมือง ต่อเหตุกาณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เรื่อยมาจนถึง 6 ตุลาคม พ.ศ 2519 มีลีลาและเนื้อหาสะทกสะท้อนใจ ปลุกเร้าอารมณ์ ชี้ให้เห็นถึงความตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง แฝงวิถีชีวิตพื้นบ้านเอาไว้มาก เป็นกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าทางภาษาอันงดงาม เปี่ยมไปด้วยพลัง ประกอบด้วยฉันทลักษ์อันไพเราะ และทัศนคติอันงดงามเรียบง่าย ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวและความตื่นตัวทางความคิด

           คำประกาศของคณะกรรมการตัดสินเป็นเอกฉันท์ว่า เพียงความเคลื่อนไหว เป็นงานร่วมสมัย 
ซึ่งแสดงจิตสำนึกของชาติไทยยุคปัจจุบันได้ชัดเจนที่สุด มีเอกลักษณ์ในแง่ที่ว่า ได้รวมเรื่องเฉพาะยุคหรือเฉพาะแห่ง กับเรื่องของสากลเข้าไว้ด้วยกัน เสมือนเป็นบันทึกทางความคิด มุมมอง อารมณ์ ความรู้สึก ต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่ปรากฏขึ้น และด้วยความเป็นสากลของผลงาน แม้เวลาจะเปลี่ยนไป เนื้อหาก็ยังคงทันสมัย น่าอ่าน น่าพิจารณาบทกวีพร้อมๆ ไปกับสังคม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เพียงความเคลื่อนไหว






รวมหนังสือวรรณกรรมซีไรต์ ( ลูกอีสาน ปี 2552 )



รวมหนังสือวรรณกรรมซีไรต์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 - 2531
       
        นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ที่รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือเรียกสั้นๆ ว่า รางวัลซีไรต์ ถือกำเนิดขึ้น จนถึงวันนี้ ประเทศไทยของเรามีหนังสือซีไรต์ทั้งสิ้น 39 เล่มที่ประทับตราดังกล่าวไว้บนปก ประกอบไปด้วยวรรณกรรม 3 ประเภท คือ นวนิยาย กวีนิพนธ์และรวมเรื่องสั้น จึงขอชวนและเชิญท่านมาย้อนอ่านทบทวนกันว่า มีผลงานเล่มใด ของนักเขียนคนใดบ้าง ที่ได้รับการประทับตราซีไรต์อันทรงเกียรติ์ไว้บนปก


ลูกอีสาน



ลูกอีสาน
หนังสือซีไรต์ (นวนิยาย) ปี 2522
ผู้แต่ง คำพูน บุญทวี
พิมพ์ครั้งแรก สำนักพิมพ์บรรณกิจ
พิมพ์ครั้งล่าสุด สำนักพิมพ์โป๋ยเซียน


        นวนิยายเรื่องลูกอีสาน สะท้อนภาพชีวิตของชาวอีสาน ผ่านเรื่องเล่าคล้ายสารคดีชีวิตผสมนวนิยายที่แพรวพราวไปด้วยชั้นเชิงวรรณศิลป์ งดงามด้วยสร้อยอักษร ฉายภาพวิถีชีวิตอันแร้นแค้นของชาวอีสานได้อย่างโปร่งใสบริสุทธิ์ ปราศจากน้ำเสียงที่แสดงความขมขื่น และไม่ได้พยายามตีแผ่ความชั่วร้ายของสังคม แต่ปลุกจิตสำนึกให้กับผู้อ่านโดยชี้ให้เห็นถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงของสังคม คุณค่าของเรื่องลูกอีสาน คือการเรียนรู้ที่จะอยู่กับความยากลำบาก เพื่อก้าวผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต


       นักวิจารณ์วรรณกรรมมีความเห็นตรงกันว่าเรื่องนี้มิได้แฝงปรัชญา ไม่ได้แสดงวิจิตรศิลป์ตระการตาหรือตีแผ่สังคมแต่อย่างใด หากแต่ได้เล่าถึงวิถีชนบทอันเรียบง่าย ฉากต่างๆ ในท้องถิ่นของชาวอีสาน คำพูนเก็บมาร้อยเรียงได้อย่างออกรส ใช้ขนบของนิยายการเรียนรู้ เสนอภาพลักษณ์ของอีสานแตกต่างจากนิยายสัจจนิยมแสดงคุณค่าของความเป็นอีสานอย่างสมศักดิ์ศรี การอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องการความสงสารซึ่งมักมาพร้อมคำดูถูก ทำให้ลูกอีสานเป็นนวนิยายที่ยืนยงมาถึงทุกวันนี้

       ข่าวคำร่ำลือของหนังสือเล่มนี้ดังไปทั่วจนไปเข้าหูสำนักพิมพ์ในต่างประเทศ จึงมาขอซื้อลิขสิทธิ์  ลูกอีสานแปล เป็นภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ภาษาญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอังกฤษไปจำหน่าย ให้ได้รับรู้กันทั่วโลกกันเลยทีเดียว

       ทั้งหมดนี้เป็นบทพิสูจน์คุณค่าของหนังสือลูกอีสานในความหวือหวาโฆษณาชวนเชื่อ แต่ที่แท้แล้วกลับเป็นเรื่องเนื้อหาและภาษาที่เรียบง่าย เข้าใจง่ายไม่สลับซับซ้อน ตรงไปตรงมา บอกเล่าเรื่องราวความรู้สึกของชีวิตคนอีสานในสมัยนั้นซึ่งไม่มีใครรู้มาก่อน และเป็นวรรณกรรมชิ้นเดียวที่คงความเป็นอมตะได้รับการสนับสนุนจากผู้อ่านจากรุ่นสู่รุ่นตลอดมา นับว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าควรหาแก่การอ่าน