รวมหนังสือวรรณกรรมซีไรต์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 - 2531
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ที่รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือเรียกสั้นๆ ว่า รางวัลซีไรต์ ถือกำเนิดขึ้น จนถึงวันนี้ ประเทศไทยของเรามีหนังสือซีไรต์ทั้งสิ้น 39 เล่มที่ประทับตราดังกล่าวไว้บนปก ประกอบไปด้วยวรรณกรรม 3 ประเภท คือ นวนิยาย กวีนิพนธ์และรวมเรื่องสั้น จึงขอชวนและเชิญท่านมาย้อนอ่านทบทวนกันว่า มีผลงานเล่มใด ของนักเขียนคนใดบ้าง ที่ได้รับการประทับตราซีไรต์อันทรงเกียรติ์ไว้บนปก
ลูกอีสาน
ลูกอีสาน
หนังสือซีไรต์ (นวนิยาย) ปี 2522
ผู้แต่ง คำพูน บุญทวี
พิมพ์ครั้งแรก สำนักพิมพ์บรรณกิจ
พิมพ์ครั้งล่าสุด สำนักพิมพ์โป๋ยเซียน
นวนิยายเรื่องลูกอีสาน สะท้อนภาพชีวิตของชาวอีสาน ผ่านเรื่องเล่าคล้ายสารคดีชีวิตผสมนวนิยายที่แพรวพราวไปด้วยชั้นเชิงวรรณศิลป์ งดงามด้วยสร้อยอักษร ฉายภาพวิถีชีวิตอันแร้นแค้นของชาวอีสานได้อย่างโปร่งใสบริสุทธิ์ ปราศจากน้ำเสียงที่แสดงความขมขื่น และไม่ได้พยายามตีแผ่ความชั่วร้ายของสังคม แต่ปลุกจิตสำนึกให้กับผู้อ่านโดยชี้ให้เห็นถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงของสังคม คุณค่าของเรื่องลูกอีสาน คือการเรียนรู้ที่จะอยู่กับความยากลำบาก เพื่อก้าวผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต
นักวิจารณ์วรรณกรรมมีความเห็นตรงกันว่าเรื่องนี้มิได้แฝงปรัชญา ไม่ได้แสดงวิจิตรศิลป์ตระการตาหรือตีแผ่สังคมแต่อย่างใด หากแต่ได้เล่าถึงวิถีชนบทอันเรียบง่าย ฉากต่างๆ ในท้องถิ่นของชาวอีสาน คำพูนเก็บมาร้อยเรียงได้อย่างออกรส ใช้ขนบของนิยายการเรียนรู้ เสนอภาพลักษณ์ของอีสานแตกต่างจากนิยายสัจจนิยมแสดงคุณค่าของความเป็นอีสานอย่างสมศักดิ์ศรี การอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องการความสงสารซึ่งมักมาพร้อมคำดูถูก ทำให้ลูกอีสานเป็นนวนิยายที่ยืนยงมาถึงทุกวันนี้
ข่าวคำร่ำลือของหนังสือเล่มนี้ดังไปทั่วจนไปเข้าหูสำนักพิมพ์ในต่างประเทศ จึงมาขอซื้อลิขสิทธิ์ ลูกอีสานแปล เป็นภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ภาษาญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอังกฤษไปจำหน่าย ให้ได้รับรู้กันทั่วโลกกันเลยทีเดียว
ทั้งหมดนี้เป็นบทพิสูจน์คุณค่าของหนังสือลูกอีสานในความหวือหวาโฆษณาชวนเชื่อ แต่ที่แท้แล้วกลับเป็นเรื่องเนื้อหาและภาษาที่เรียบง่าย เข้าใจง่ายไม่สลับซับซ้อน ตรงไปตรงมา บอกเล่าเรื่องราวความรู้สึกของชีวิตคนอีสานในสมัยนั้นซึ่งไม่มีใครรู้มาก่อน และเป็นวรรณกรรมชิ้นเดียวที่คงความเป็นอมตะได้รับการสนับสนุนจากผู้อ่านจากรุ่นสู่รุ่นตลอดมา นับว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าควรหาแก่การอ่าน
ทั้งหมดนี้เป็นบทพิสูจน์คุณค่าของหนังสือลูกอีสานในความหวือหวาโฆษณาชวนเชื่อ แต่ที่แท้แล้วกลับเป็นเรื่องเนื้อหาและภาษาที่เรียบง่าย เข้าใจง่ายไม่สลับซับซ้อน ตรงไปตรงมา บอกเล่าเรื่องราวความรู้สึกของชีวิตคนอีสานในสมัยนั้นซึ่งไม่มีใครรู้มาก่อน และเป็นวรรณกรรมชิ้นเดียวที่คงความเป็นอมตะได้รับการสนับสนุนจากผู้อ่านจากรุ่นสู่รุ่นตลอดมา นับว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าควรหาแก่การอ่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น